Sunday, September 26, 2010

ในเกาหลีใต้ "จอ"คือ"เงิน"

ผมเองเคยเป็นคนหนึ่งที่สงสัยว่าบริษัทยักษ์ใหญ่บนโลกออนไลน์อย่าง Google ที่เป็นผู้ให้บริการ search engine ที่ทรงพลังและมีคนใช้เยอะทีสุดในโลกนั้นจริงๆแล้วเป้าหมายของบริษัทคืออะไรกันแน่ เพราะบริการใหม่ๆบางอย่างมันก็ไม่ค่อยเกี่ยวกับการค้นหาสักเท่าไหร่ จนมีคนหนึ่งบอกผมว่า เป้าหมายระยะยาวของ Google ก็คือการเข้าถึงทุก"จอ"บนโลก ผมถึงได้เข้าใจว่าทำไม Google ถึงพัฒนาแต่ละบริการที่เราเห็นๆกันอยู่ทุกวันนี้

"จอ" ที่ผมพูดถึงไม่ใช่แค่จอคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ laptop แต่รวมไปถึง จอโทรศัพท์มือถือ จออุปกรณ์พกพาต่างๆ จอโทรศัพท์ หรือแม้แต่จอในรถยนต์ ตราบใดที่จอเหล่านี้สามารถต่อกับโลกอินเทอร์เน็ตได้มันจะกลายเป็น"ช่องทาง"ที่มีมูลค่าขึ้นมาทันที จากจุดนี้เองเลยทำให้ผมอยากเขียน blog เพื่อเล่าความสำคัญของ"จอ"ในอีกแง่มุมที่หลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบ

ในธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ตในประเทศที่ก้าวหน้าอย่างเกาหลีใต้ หน้าจอ PC มีความสำคัญมากๆ หากคุณได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศบ้านเกิดแดจังกึมแห่งนี้ อยากให้ลองเข้าไปเยี่ยมร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ หรือที่เรียกกันว่า PC Bang สักแห่งแล้วจะเห็นภาพชัดขึ้นครับ หน้าจอ PC ทุกหน้าจอมีการโฆษณาโดย brand ต่างๆอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นหน้า screen saver, หน้า log in, แถบด้านล่าง, wallpaper เหล่านี้ต่างกลายเป็นช่องทางโฆษณาที่ทำเงินได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

ถ้าย้อนอธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้นก็คือ ธุรกิจร้านเน็ตคาเฟ่ในประเทศนี้ถือว่าเป็นระบบมากๆ นั่นหมายถึงว่าการจัดการบริหารร้านจะมีการใช้ซอฟต์แวร์สำหรับบริหารร้านโดยเฉพาะ ซึ่งซอฟท์แวร์เหล่านี้ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทมืออาชีพเพื่อเน้นตอบสนองการใช้งานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบคิดเงินในร้าน ระบบสมาชิก ระบบจำหน่ายสินค้า หรือแม้แต่การเติมเงินเข้ากับบริการออนไลน์ต่างๆ โดยซอฟท์แวร์เหล่านี้จะติดตั้งที่เครื่องของเจ้าของร้าน และสามารถที่จะควบคุมเครื่องลูกในร้านได้อย่างสมบูรณ์แบบ จากตรงนี้นี่เองจึงเกิดการพัฒนาต่อยอดมาอีกระดับ นั่นก็คือการเชื่อมต่อเครื่องของเจ้าของร้านเข้ากับเซิร์ฟเวอร์กลางของบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์นี้อีกต่อหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือความสามารถในการเก็บ"สถิติ" (เน้นนะครับว่าสถิติ ไม่ใช่ข้อมูลส่วนตัว) ที่เกิดจากการใช้งานในร้านที่ติดตั้งซอฟท์แวร์เหล่านี้ นอกจากนั้นบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านี้ยังสามารถที่จะสั่งให้เครื่องต่างๆสามารถเปลี่ยน screen saver, waller, banner ฯลฯ ได้ตามต้องการอีกด้วย

ลองนึกดูเล่นๆนะครับ เอาประเทศไทยเราเป็นตัวอย่าง ประเทศเรามีร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ประมาณ 20,000 กว่าร้าน ถ้าร้านหนึ่งมีเครื่องประมาณ 15 เครื่อง เราจะได้จำนวน"จอ"ถึง 300,000 จอที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เป็น Netizen อย่างมีประสิทธิภาพทันที ถ้าเราสามารถทำการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ brand หรือ product ของเราผ่านช่องทางหน้าจอนี้ได้ เราก็จะสามารถเข้าถึงกลุ่มคนยุคใหม่ได้อย่างง่ายดายและด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างคุ้มค่าทีเดียวครับ

สิ่งที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ก็คือ ช่องทาง PC Bang กลายเป็นช่องทางที่บริษัทต่างๆให้ความสนใจอย่างมากและหันมากันงบเพื่อใช้กับช่องทางนี้ บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการร้านเหล่านี้สามารถสร้างรายได้จากการขายพื้นที่บน"จอ"ทั่วประเทศได้เป็นเงินถึงหลักพันล้านบาท นั่นยังไม่นับถึงรายได้ที่ได้จากการขาย"สถิติ"ที่เก็บได้อีกด้วย ซึ่งสถิติที่ผมว่านี้ก็คือข้อมูลเช่น ผู้ใช้ชอบเข้าเว็บไหนมากที่สุด มีสัดส่วนเป็น % เท่าไหร่, เกมไหนมีการเล่นมากที่สุด, สเปคคอมพิวเตอร์ในร้าน PC Bang โดยเฉลี่ยเป็นอย่างไร เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีความแม่นยำแม้จะไม่ 100% แต่ผมก็กล้าพูดได้ว่ามันแม่นกว่าการทำการวิจัยตลาด หรือการลงพื้นที่โดยทีมงานใดๆแน่ๆเพราะมันเก็บจากตัวเครื่องโดยตรง นั่นหมายถึงว่าการวางแผนการเข้าถึงลูกค้าที่เป็น Netizen จะมีความแม่นยำ และที่สำคัญคือ ข้อมูลเหล่านี้มันสามารถแยกเป็นเขตได้ด้วย ดังนั้นผู้ใช้ข้อมูลจะสามารถเห็นได้ถึงขนาดที่ว่าเขตใดมีพฤติกรรมบนโลกอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างไร ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่นักการตลาดหรือนักขายต้องการตลอดมา ดังนั้นการขายสถิติเหล่านี้จึงสามารถสร้างรายได้ให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์นี้ได้อย่างสวยงามอีกส่วนหนึ่งด้วย

ทีนี้หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าแล้วร้านเน็ตทำไมถึงจะต้องให้บริษัทเหล่านี้มาเอาข้อมูลจากร้านตัวเองไปใช้สร้างรายได้เฉยๆ นั่นเป็นเพราะว่าร้านเน็ตเหล่านี้ก็ได้ผลประโยชน์เช่นกันครับ บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านี้เข้าใจดีว่าร้านเน็ตเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้ตนมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ดังนั้นรูปแบบของการแบ่งรายได้จากโฆษณา, การทำกิจกรรมแจกของต่างๆจึงเป็นสิ่งกระตุ้นให้ร้านเน็ตอยากติดตั้งโปรแกรมในร้านของตน ตัวอย่างเช่น หากร้าน A ติดตั้งโปรแกรมในร้าน บริษัทจะดูการใช้งานและอาจจะแจกคูปองแลกจอคอมพิวเตอร์ใหม่ในราคาพิเศษมากๆ ซึ่งนั่นคือการลดต้นทุนของร้านอย่างชัดเจน หรือหากมีการใช้โปรแกรมอย่างต่อเนื่องถึงปริมาณที่กำหนดอาจจะได้เงินสดกันเลยทีเดียว ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิด ecosystem ที่ได้ผลประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน

และนี่ก็คือตัวอย่างหนึ่งของการเปลี่ยน"จอ"ให้เป็น"เงินนะครับ ส่วนบ้านเราก็มีความพยายามที่จะนำ model นี้มาใช้เหมือนกัน และผมเองก็เคยเป็นหนึ่งในทีมที่ดูแลเรื่องนี้ แต่ปัจจัยบ้านเรามีหลายอย่างมากๆที่ทำให้มันไม่เกิด ไว้คราวหน้าผมจะมาเล่าให้อ่านนะครับ

Saturday, September 25, 2010

ลาวกับอินเทอร์เน็ต

เมื่อปลายปีที่แล้วผมโชคดีที่มีโอกาสได้เดินทางไปสำรวจตลาดที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรา นั่นก็คือประเทศลาวครับ โดยจุดมุ่งหมายก็คือการไปดูว่าสภาพตลาดมีความพร้อมและมีความต้องการเพียงพอสำหรับธุรกิจออนไลน์หรือเปล่า การเดินทาง 3 วัน 2 คืนของผมเป็นประสบการณ์ที่ค่อนข้างดีและได้เห็นอะไรที่น่าสนใจหลายๆอย่างครับ

ผมเดินทางช่วงสิ้นเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะมีกีฬาซีเกมส์เพียงไม่นานนัก เป้าหมายหลักคือการไปดู Infrastructure ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบอินเทอร์เน็ต ช่องทางการจัดจำหน่าย ช่องทางประชาสัมพันธ์ ระบบการชำระเงิน หรือแม้แต่ระบบขนส่ง นอกจากนั้นเราต้องทำการสำรวจตามร้านอินเทอร์เน็ตเพื่อดูว่าลักษณะ lifestyle ของวัยรุ่นที่โน่นเป็นอย่างไรบ้าง วันแรกที่ผมและหัวหน้าไปถึงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว เราก็เริ่มตระเวณทันที สิ่งแรกที่เราค้นพบก็คือ เมืองหลวงของประเทศมีขนาดเล็กมาก สภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับต่างจังหวัดของไทย ไม่มีตึกสูงๆ ไม่มีระบบการคมนาคมที่ซับซ้อน และการดำเนินชีวิตค่อนข้างเรียบง่าย ถ้าจะใช้เวลาตระเวณให้ทั่วจริงๆจากการประเมินด้วยสายตาครั้งแรกที่เห็นก็คาดว่าใช้ไม่เกิน 2 วันน่าจะทั่วเมือง

เราเริ่มภารกิจจากการไปเยี่ยมร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ทันที จากการพูดคุยกับเจ้าของร้านจึงได้รู้ว่าค่าบริการอินเทอร์เน็ตในลาวแพงมาก ในขณะที่ทุกวันนี้ชาวไทยสามารถเล่นเน็ตที่ความเร็ว 6 Mbps ในราคาเพียงห้าร้อยกว่าบาท หรือหลักพันต้นๆสำหรับร้านเน็ต สิ่งที่ร้านเน็ตในลาวต้องเผชิญคือราคาร่วมหมื่นบาทสำหรับความเร็ว 1 Mbps โดยเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่ร้านเก็บจากลูกค้าแล้วพบว่าไม่ได้แตกต่างจากบ้านเรามากนัก คำถามจึงเกิดขึ้นในหัวผมทันทีว่า แล้วเขาจะคุ้มทุนกันยังไง?

เมื่อเราได้ทยอยเดินเข้าร้านนั้นออกร้านนี้มากขึ้นเรื่อยๆก็ยิ่งได้พบว่าร้านต่างๆเหล่านี้มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ผู้ให้บริการหลักในเวียงจันทน์มี 3 เจ้าได้แก่ Lao Telecom ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Shin Corporation จากบ้านเรานี่เอง โดยมีรัฐบาลลาวถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่ง (ได้รู้ในภายหลังว่ารัฐบาลถือหุ้นครึ่งหนึ่งในทุก operator) เจ้าที่สองก็คือ ETL และเจ้าที่สามเป็นน้องใหม่ที่เพิ่งถูกต่างชาติเข้ามาถือหุ้นคือ Tigo ซึ่งแต่ละเจ้าก็จะมีสไตล์การทำการตลาดและรูปแบบราคาที่แตกต่างกัน

หลังจากที่ได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้ว ประเด็นที่เราสนใจต่อก็คือตลาดเกมในลาว ซึ่งก็ได้พบว่ารัฐบาลลาวมีนโยบายในการควบคุมการให้บริการเกมในร้านเน็ตที่ค่อนข้างรัดกุมกว่าบ้านเรา และถึงแม้จะยังไม่มีการบังคับกฎหมายใดๆอย่างเคร่งครัด แต่ร้านต่างๆก็ได้ข้อมูลค่อนข้างตรงกันว่ารัฐบาลไม่สนับสนุนและอาจจะถึงกับห้ามให้มีการเปิดให้บริการเกมในร้านโดยสิ้นเชิงเพื่อป้องกันปัญหาเด็กไม่สนใจเรียนและปัญหาสังคมอื่นๆที่อาจจะตามมา แต่ก็มีข้อยืดหยุ่นคือ ในแต่ละเมืองอาจจะอนุโลมให้มีการจัดตั้งศูนย์เกมได้ 2-3 แห่ง แต่ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลก่อนและจะไม่สามารถมีมากกว่านี้ได้

เมื่อเริ่มเห็นทิศทางและแนวโน้มในฝั่งของตลาดแล้ว เราก็เริ่มขยับไปที่การพูดคุยกับผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย ซึ่งถือว่าโชคดีมากที่ได้เราพบระดับผู้บริหารของทั้ง 3 บริษัท ข้อมูลที่เราได้ก็น่าสนใจ เพราะพบว่าจำนวนผู้ใช้บริการเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วอยู่ในหลักแสนเท่านั้น ซึ่งนั่นรวมทั้งมือถือและอินเทอร์เน็ต! อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการกลับได้ก้าวข้ามประเทศเราไปสู่ 3G และ Wi-Max เรียบร้อยแล้ว ผมมีโอกาสได้ทดลอง Wi-Max โดยใช้ notebook ที่ผมพกติดตัวไปและต้องทึ่งเมื่อสามารถดาวน์โหลดไฟล์ขนาดร่วม 10 MB เสร็จโดยยังไม่ทันนับเวลา ผมได้สอบถามถึงจำนวนผู้ใช้และก็ได้คำตอบที่ไม่น่าแปลกใจนั่นก็คือหลักร้อยคน แต่รายต่างๆก็มองว่ามันเป็นบริการที่มีอนาคตและสิ่งที่จะมาช่วยขับเคลื่อนให้เติบโตได้ก็คือ content นั่นเอง

ผมได้สอบถามต่อว่าการตั้งราคาที่สูงขนาดนี้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำตลาดหรือ และก็ได้คำตอบว่าสาเหตุที่ราคาสูงก็เพราะต้นทุนการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ หรือ international bandwidth ที่ต้องจ่ายให้กับหน่วยงานหนึ่งที่เรารู้จักกันดี นั่นก็คือ CAT ของบ้านเรานั่นเอง โดยทั้ง 3 เจ้าจะต้องวิ่งออกผ่าน CAT ซึ่งอยู่ใกล้ที่สุด ทำให้ operator ไม่สามารถลดราคาให้กับลูกค้าได้มากนัก แต่หากร้านใดจะใช้เพียง domestic bandwidth เพียงอย่างเดียว ราคาก็อาจจะลดได้มากกว่า 50% ทีเดียว สิ่งที่ operator พยายามหาทางออกก็เลยเป็นการเปลี่ยนไปวิ่งผ่านจีนซึ่งยังไม่เต็มรูปแบบ แต่ผมเชื่อว่าหากมีทางเลือกมากขึ้น ราคาก็น่าจะลดลงได้อย่างแน่นอน

เมื่อขยับมาถึงส่วนของการประชาสัมพันธ์ เราพบว่าสื่อโทรทัศน์และเว็บไซต์ของลาวเองไม่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นลาวนัก เพราะวัยรุ่นมักจะดูรายการจากช่องของไทยและเข้าไปอ่านเว็บต่างๆของไทยเช่นกัน ยิ่งเป็นนิตยสารต่างๆแล้วยิ่งเข้าไม่ถึง สื่อที่น่าจะมีประสิทธิภาพที่สุดจึงกลายเป็น SMS ไปโดยปริยาย

เมื่อเราได้ข้อมูลต่างๆเหล่านี้แล้วเราจึงเริ่มเห็นทิศทางชัดเจนมากขึ้น การจะเข้าไปทำธุรกิจออนไลน์ในลาวมีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยหลักๆได้แก่ ข้อจำกัดด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต, การประชาสัมพันธ์ และขนาดของตลาดที่ค่อนข้างเล็ก นอกจากนั้นโครงสร้างภาษีก็แตกต่างจากบ้านเราและโดยรวมแล้วบริษัทต่างๆจะต้องเสียภาษีค่อนข้างเยอะพอสมควร ดังนั้นแผนการขยายธุรกิจจึงกลายเป็นโจทย์ให้ต้องกลับมานั่งคิดกันใหม่หมด

ผมไม่สามารถให้รายละเอียดมากกว่านี้ได้ แต่หวังว่าสิ่งที่ผมเล่ามาน่าจะช่วยให้หลายๆท่านได้เห็นภาพของเพื่อนบ้านเราได้ชัดขึ้นบ้างนะครับ หากใครมีข้อมูลหรือคำแนะนำก็แบ่งปันกันบ้างนะครับ :)

Sunday, September 19, 2010

งานเปิดตัว Garmin-Asus A10

หลังจากที่ได้เอา Garmin-Asus A10 มาเล่นได้สัปดาห์กว่าๆ ก็ถึงเวลาไปร่วมงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ Android น้องใหม่ตัวนี้ซะที ต้องขอชมว่าทีมงานทำได้ดี โดยเฉพาะเรื่องสถานที่ที่ร้าน Boqueria ที่ตึก All Seasons ที่เคยเป็นร้าน Pomodoro มาก่อน เนื่องจากผมชอบอาหารและบรรยากาศร้านนี้เป็นการส่วนตัวครับ ฮ่าๆ :P

ในงานวันเสาร์ที่ผ่านมาถือว่ามีคนให้ความสนใจเยอะพอสมควร เรียกว่าเต็มร้านแบบพอดีๆ เอาเท่าที่ประมาณด้วยตัวเองผมว่าน่าจะเกิน 120 คนครับ ซึ่งประกอบไปด้วย blogger, สื่อ และผู้ที่สนใจทั่วไป โดยในงานมีทีมงานมาแนะนำตัว A10 อย่างครบถ้วนทุกมุม รวมถึงมีผู้บริหารหญิงจากไต้หวันมาร่วมด้วย ที่เหลือก็เป็นแขกที่ได้รับเชิญให้ร่วมแนะนำแอพพลิเคชั่นและการใช้งานครับ

นอกจากจะมีคนให้ความสนใจเยอะแล้วยังได้ยินมาว่ายอดจองถึงกับทำให้ทีมงานยิ้มไม่หุบเพราะเกินเป้า แต่เสียดายที่การจัดเตรียมของมีปัญหาทางเทคนิคนิดหน่อยทำให้ไม่สามารถให้เครื่องได้ทันที คนที่สั่งจึงต้องรอ 3-4 วัน ครับ

Photobucket
ภาพบรรยากาศก่อนเริ่มงาน

Photobucket
พื้นที่ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ

Photobucket
อาหารร้านนี้อร่อยมากกกก!

Photobucket
ตัวอย่างเครื่องที่ตั้งแสดงในบริเวณงาน

Photobucket
อาหาร อาหาร อาหาร...

Photobucket
ผู้บริหารหญิงที่บินมาร่วมงาน

Photobucket
ผมขึ้นพูดแนะนำ Tips ในการใช้ Android (ขโมยรูปมาจาก @kafaak :P)

Photobucket
ในงานมีโปรโมชั่นลดราคาสำหรับผู้ที่มาร่วมงาน

Saturday, September 11, 2010

Garmin-Asus A10 ... เมื่อผู้นำระบบนำทางมาเจอหุ่นกระป๋องล้ำยุค

หลังจากที่ได้ลองเล่น Garmin-Asus M10E ก่อนหน้านี้ได้ไม่นานและรู้สึกว่ามันก็เป็นโทรศัพท์รุ่นที่ค่อนข้างโอเค มาอาทิตย์นี้ผมได้มีโอกาสใช้งานรุ่นถัดมาอย่างจริงจังด้วยตัวเองซะที รุ่นที่ว่าก็คือ Garmin-Asus A10 โทรศัพท์ผสานระบบนำทางที่ออกมาได้ค่อนข้างลงตัว

Photobucket
Garmin-Asus A10 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 2.1

ครั้งแรกที่ได้สัมผัสรู้สึกได้ทันทีถึงวัสดุที่ค่อนข้างดีและขนาดกำลังพอดีมือ แต่บอกตรงๆครับว่าผมไม่ได้ดูสเปคมันมาก่อน ผมเลยรีบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเครื่องและก็ได้รายละเอียดหลักๆมาดังนี้
  • 2G Network: GSM 850/900/1800/1900, 3G Network: HSDPA
  • DISPLAY: TFT capacitive touchscreen, 320 x 480 pixels, 3.2 inches
  • MEMORY: microSD, up to 16GB
  • CAMERA: 5 MP, 2592х1944 pixels, autofocus, Geo-tagging
  • Android OS
  • Java via third party application
  • Location-based applications
  • BATTERY: Standard battery, Li-Ion 1500 mAh (สำหรับผมแล้วข้อนี้คือ highlight เลยครับ)
แล้วผมก็รีบเอา SIM จากเครื่องที่ใช้อยู่มาทดลองทันที โดยไม่พลาดเก็บภาพตัวเครื่องไว้ก่อนด้วย

Photobucket
Photobucket

เมื่อใส่ซิมเสร็จเรียบร้อยก็เปิดเครื่องมาเห็นเจ้าตัวเขียวพร้อมโลโก้ของผู้ผลิตทันที
Photobucket

เมื่อบู๊ตเครื่องเสร็จแล้วก็เข้ามาสู้หน้า lock screen ของ Android ที่ดูสดสว่างใช้ได้ทีเดียว
Photobucket

พอลองถือดูก็จะเห็นว่าขนาดมันกำลังพอดีมือของผมจริงๆ

Photobucket

ตัวเครื่อง Garmin-Asus A10 มีปุ่มเปิดปิดเครื่องอยู่ด้านซ้ายบนและปุ่มปรับเสียงอยู่ด้านขวาของตัวเครื่อง นอกจากนั้นก็จะเป็นปุ่มแบบสัมผัส 3 ปุ่มคือ Back อยู่ซ้ายสุด Home อยู่ตรงกลางและ Menu อยู่ด้านขวา ซึ่งการตอบรับก็รวดเร็วดี จากนั้นเมื่อผม unlock แล้วก็จะเข้าสู่หน้าหลักของตัวเครื่อง ซึ่ง User Interface นี้มีชื่อว่า Breeze UI จะมีหน้าแรกเน้นไปที่ระบบนำทางให้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

Photobucket

เมื่อลองเลื่อนหน้าจอไปทางด้านขวาก็จะพบไอคอนของแอพพลิเคชั่นต่างๆตามแบบฉบับของ Android ที่เราคุ้นเคย

Photobucket
Photobucket

ซึ่งหากต้องการเรียกดูหน้าทั้งหมดก็สามารถกดที่ปุ่ม Home มันก็จะแสดงผลเป็นหน้ารวมหน้าย่อย นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มหน้าได้อีกหากต้องการ

Photobucket

แต่สำหรับใครที่อยากเปลี่ยนหน้าตาของตัวเครื่องก็สามารถเลือกใช้ Classic UI ได้ หน้าตาก็จะเป็นแบบนี้ครับ

Photobucket

ซึ่งเมนูทั้งหมดจะย้ายไปอยู่ด้านขวา หากต้องการเรียกใช้งานก็สามารถเรียกแถบออกมาได้โดยการเลื่อนแถบไปทางซ้ายมือ เราก็จะเห็นไอคอนทั้งหมดและสามารถเลื่อนขึ้นลงเพื่อดูได้

Photobucket

คราวนี้เราลองมาดูในส่วนของการใช้งานหลักๆกันบ้างนะครับ เริ่มจากส่วนสำคัญของโทรศัพท์ นั่นก็คือการโทร...

Photobucket

จะเห็นว่าแถบหมายเลขค่อนข้างใหญ่และกดได้สะดวกมาก นอกจากนั้นแถบด้านบนจะแบ่งเป็นหมายเลขที่ติดต่อล่าสุด, รายชื่อทั้งหมด และหมายเลขกลุ่มที่ตั้งไว้สำหรับติดต่อบ่อยๆอีกด้วย

Photobucket

มาดูในส่วนของกล้องบ้างครับ การถ่ายภาพก็ทำได้ง่ายดี และสามารถปรับแต่งโหมดการถ่าย การปรับเอฟเฟคต์ และขนาดของภาพได้ตามที่ต้องการ

Photobucket
ภาพระหว่างที่ถ่าย

Photobucket
ภาพที่ได้จากการถ่ายโดยไม่ตั้งค่าใดๆ

ซึ่งเท่าที่ลองถ่ายรูปดูผมก็ค่อนข้างโอเคกับคุณภาพของภาพที่ได้ และชัตเตอร์ก็ค่อนข้างเร็วแม้จะไม่ทันทีก็ตาม และในส่วนของการเล่นวิดีโอก็ใช้งานได้ดี ผมลองกับไฟล์ที่มากับเครื่องก็จะเห็นว่าลื่นและชัดเจนดี

Photobucket

สำหรับ browser เองหน้าตาแปลกไปเล็กน้อยจากตัวที่มากับ Android แต่ในการใช้งานบน A10 ก็ถือว่าใช้งานได้ปกติ สามารถแสดงผลได้ครบถ้วนและไม่มีปัญหาใดๆกับภาษาไทย ยกเว้นแต่การกดให้ตรงกับลิงค์ที่เป็นภาษาไทยซึ่งเป็นปัญหามาตรฐานของโทรศัพท์ Android ทุกรุ่นอยู่แล้ว

Photobucket
Photobucket
Photobucket

ส่วนของ Gallery ก็มาตรฐานและช่วยให้การแชร์รูปทำได้อย่างง่ายดายผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอีเมลล์, Facebook, Twitter ก็ทำได้ทันที

Photobucket
Photobucket

ที่น่าสนใจก็คือส่วนของการส่งข้อความที่สามารถส่งพิกัดที่เราอยู่ให้ผู้รับได้ด้วย แต่เท่าที่ผมลองมันไม่ส่งไปยังรุ่นอื่น ผมเดาว่ามันคงจะส่งไปหาเครื่องที่เป็น Garmin ด้วยกันครับ ส่วนข้อความอื่นๆนั้นก็ทำงานได้ปกติดีครับ

Photobucket

ที่เรียกว่าโดดเด่นก็คือส่วนของ Settings หรือการตั้งค่า ซึ่งจากที่ผมลองเรียกได้ว่ามันมีส่วนให้ตั้งค่าเยอะมาก! เราสามารถตั้งค่าของการใช้งานได้ละเอียดมาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่มากับตัว Android อยู่แล้วที่แม้จะถูกจัดวางจำแหน่งใหม่แต่ก็ยังครบถ้วน และส่วนที่มากับระบบของ Garmin ก็หลากหลายมาก

Photobucket
Photobucket

ทีนี้ก็มาถึงส่วนที่เป็นจุดแข็งของ Garmin-Asus A10 นั่นก็คือระบบนำทางจาก Garmin ซึ่งเราสามารถใช้งานได้จากหน้าหลักของเครื่องเลย โดยเริ่มจากการป้อนสถานที่ที่ต้องการจะไป

Photobucket

จากนั้นตัวโปรแกรมก็จะทำการค้นหาและแสดงผลตัวเลือกทั้งหมด

Photobucket

เมื่อเจอจุดหมายปลายทางที่ต้องการแล้วก็สามารถคลิกดูตำแหน่งบนแผนที่ได้ ซึ่งที่ผมชอบก็คือการที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะโทรติดต่อสถานที่นั้นๆหรือเลือกให้ตัวโปรแกรมนำทาง

Photobucket

ถ้าเลือกที่การโทรตัวโปรแกรมก็จะโทรติดต่อให้ทันที

Photobucket

หรือถ้าต้องการให้นำทาง ตัวโปรแกรมจะถามว่าเป็นโหมดการขับรถหรือการเดิน

Photobucket

จากนั้นก็จะแสดงแผนที่และเริ่มนำทางทันที

Photobucket

ซึ่งผมก็สามารถที่จะดูระหว่างที่อยู่บนรถได้ตลอดทางทั้งในรูปแบบการนำทาง และรูปแบบแผนที่ทั่วไป

Photobucket
Photobucket

แต่จุดที่ยอดเยี่ยมที่สุดอีกอย่างของ A10 ก็คือความสามารถในการจับภาพหน้าจอได้ ทำให้เราสามารถจับภาพเพื่อส่งให้กับเพื่อนได้อีกด้วย

Photobucket
Photobucket

นอกจากการนำทางแล้ว Garmin-Asus A10 ยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆอีกหลายอย่าง เรียกว่าครบสูตรของ Garmin เลยจริงๆ ซึ่งผมได้ลองเล่นโดยค้นหาสถานที่ที่น่าสนใจต่างๆก็ได้ข้อมูลที่หลากหลายและน่าประทับใจมาก

Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket

หลังจากที่ลองเล่นมาได้ไม่กี่วันผมก็รู้สึกว่า Garmin-Asus A10 เป็น Android อีกรุ่นที่น่าสนใจ ทั้งวัสดุของตัวเครื่องที่ค่อนข้างดี หน้าจอสัมผัสที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและไม่หน่วง สีที่ค่อนข้างสดและสว่าง และแบตเตอรี่ที่ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งวันโดยไม่ต้องกลัวแบตฯหมดระหว่างวัน หากจะมีจุดที่ผมยังไม่คุ้นก็คือการที่ตัวเครื่องไม่มี trackball หรือ trackpad แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้มาตั้งแต่แรกอาจจะไม่รู้สึกอะไรก็ได้ครับ นอกจากนั้น เนื่องจากว่า OS ของเครื่องที่ผมลองยังไม่ใช่ตัวที่จะวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ดังนั้นผมยังพบปัญหาในการพิมพ์เล็กน้อย แต่เชื่อว่าเมื่อถึงเวอร์ชั่นที่วางขายอย่างเป็นทางการปัญหานี้คงหมดไป

ผมขอให้คะแนน Garmin-Asus A10 ที่ 8/10 และน่าจะได้ 8.5/10 ได้ง่ายๆหากราคาขายไม่เกิน 14,000 บาทเพราะจะถือว่าการใช้งานคุ้มกับราคามากครับ