Saturday, September 11, 2010

Garmin-Asus A10 ... เมื่อผู้นำระบบนำทางมาเจอหุ่นกระป๋องล้ำยุค

หลังจากที่ได้ลองเล่น Garmin-Asus M10E ก่อนหน้านี้ได้ไม่นานและรู้สึกว่ามันก็เป็นโทรศัพท์รุ่นที่ค่อนข้างโอเค มาอาทิตย์นี้ผมได้มีโอกาสใช้งานรุ่นถัดมาอย่างจริงจังด้วยตัวเองซะที รุ่นที่ว่าก็คือ Garmin-Asus A10 โทรศัพท์ผสานระบบนำทางที่ออกมาได้ค่อนข้างลงตัว

Photobucket
Garmin-Asus A10 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 2.1

ครั้งแรกที่ได้สัมผัสรู้สึกได้ทันทีถึงวัสดุที่ค่อนข้างดีและขนาดกำลังพอดีมือ แต่บอกตรงๆครับว่าผมไม่ได้ดูสเปคมันมาก่อน ผมเลยรีบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเครื่องและก็ได้รายละเอียดหลักๆมาดังนี้
  • 2G Network: GSM 850/900/1800/1900, 3G Network: HSDPA
  • DISPLAY: TFT capacitive touchscreen, 320 x 480 pixels, 3.2 inches
  • MEMORY: microSD, up to 16GB
  • CAMERA: 5 MP, 2592х1944 pixels, autofocus, Geo-tagging
  • Android OS
  • Java via third party application
  • Location-based applications
  • BATTERY: Standard battery, Li-Ion 1500 mAh (สำหรับผมแล้วข้อนี้คือ highlight เลยครับ)
แล้วผมก็รีบเอา SIM จากเครื่องที่ใช้อยู่มาทดลองทันที โดยไม่พลาดเก็บภาพตัวเครื่องไว้ก่อนด้วย

Photobucket
Photobucket

เมื่อใส่ซิมเสร็จเรียบร้อยก็เปิดเครื่องมาเห็นเจ้าตัวเขียวพร้อมโลโก้ของผู้ผลิตทันที
Photobucket

เมื่อบู๊ตเครื่องเสร็จแล้วก็เข้ามาสู้หน้า lock screen ของ Android ที่ดูสดสว่างใช้ได้ทีเดียว
Photobucket

พอลองถือดูก็จะเห็นว่าขนาดมันกำลังพอดีมือของผมจริงๆ

Photobucket

ตัวเครื่อง Garmin-Asus A10 มีปุ่มเปิดปิดเครื่องอยู่ด้านซ้ายบนและปุ่มปรับเสียงอยู่ด้านขวาของตัวเครื่อง นอกจากนั้นก็จะเป็นปุ่มแบบสัมผัส 3 ปุ่มคือ Back อยู่ซ้ายสุด Home อยู่ตรงกลางและ Menu อยู่ด้านขวา ซึ่งการตอบรับก็รวดเร็วดี จากนั้นเมื่อผม unlock แล้วก็จะเข้าสู่หน้าหลักของตัวเครื่อง ซึ่ง User Interface นี้มีชื่อว่า Breeze UI จะมีหน้าแรกเน้นไปที่ระบบนำทางให้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

Photobucket

เมื่อลองเลื่อนหน้าจอไปทางด้านขวาก็จะพบไอคอนของแอพพลิเคชั่นต่างๆตามแบบฉบับของ Android ที่เราคุ้นเคย

Photobucket
Photobucket

ซึ่งหากต้องการเรียกดูหน้าทั้งหมดก็สามารถกดที่ปุ่ม Home มันก็จะแสดงผลเป็นหน้ารวมหน้าย่อย นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มหน้าได้อีกหากต้องการ

Photobucket

แต่สำหรับใครที่อยากเปลี่ยนหน้าตาของตัวเครื่องก็สามารถเลือกใช้ Classic UI ได้ หน้าตาก็จะเป็นแบบนี้ครับ

Photobucket

ซึ่งเมนูทั้งหมดจะย้ายไปอยู่ด้านขวา หากต้องการเรียกใช้งานก็สามารถเรียกแถบออกมาได้โดยการเลื่อนแถบไปทางซ้ายมือ เราก็จะเห็นไอคอนทั้งหมดและสามารถเลื่อนขึ้นลงเพื่อดูได้

Photobucket

คราวนี้เราลองมาดูในส่วนของการใช้งานหลักๆกันบ้างนะครับ เริ่มจากส่วนสำคัญของโทรศัพท์ นั่นก็คือการโทร...

Photobucket

จะเห็นว่าแถบหมายเลขค่อนข้างใหญ่และกดได้สะดวกมาก นอกจากนั้นแถบด้านบนจะแบ่งเป็นหมายเลขที่ติดต่อล่าสุด, รายชื่อทั้งหมด และหมายเลขกลุ่มที่ตั้งไว้สำหรับติดต่อบ่อยๆอีกด้วย

Photobucket

มาดูในส่วนของกล้องบ้างครับ การถ่ายภาพก็ทำได้ง่ายดี และสามารถปรับแต่งโหมดการถ่าย การปรับเอฟเฟคต์ และขนาดของภาพได้ตามที่ต้องการ

Photobucket
ภาพระหว่างที่ถ่าย

Photobucket
ภาพที่ได้จากการถ่ายโดยไม่ตั้งค่าใดๆ

ซึ่งเท่าที่ลองถ่ายรูปดูผมก็ค่อนข้างโอเคกับคุณภาพของภาพที่ได้ และชัตเตอร์ก็ค่อนข้างเร็วแม้จะไม่ทันทีก็ตาม และในส่วนของการเล่นวิดีโอก็ใช้งานได้ดี ผมลองกับไฟล์ที่มากับเครื่องก็จะเห็นว่าลื่นและชัดเจนดี

Photobucket

สำหรับ browser เองหน้าตาแปลกไปเล็กน้อยจากตัวที่มากับ Android แต่ในการใช้งานบน A10 ก็ถือว่าใช้งานได้ปกติ สามารถแสดงผลได้ครบถ้วนและไม่มีปัญหาใดๆกับภาษาไทย ยกเว้นแต่การกดให้ตรงกับลิงค์ที่เป็นภาษาไทยซึ่งเป็นปัญหามาตรฐานของโทรศัพท์ Android ทุกรุ่นอยู่แล้ว

Photobucket
Photobucket
Photobucket

ส่วนของ Gallery ก็มาตรฐานและช่วยให้การแชร์รูปทำได้อย่างง่ายดายผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอีเมลล์, Facebook, Twitter ก็ทำได้ทันที

Photobucket
Photobucket

ที่น่าสนใจก็คือส่วนของการส่งข้อความที่สามารถส่งพิกัดที่เราอยู่ให้ผู้รับได้ด้วย แต่เท่าที่ผมลองมันไม่ส่งไปยังรุ่นอื่น ผมเดาว่ามันคงจะส่งไปหาเครื่องที่เป็น Garmin ด้วยกันครับ ส่วนข้อความอื่นๆนั้นก็ทำงานได้ปกติดีครับ

Photobucket

ที่เรียกว่าโดดเด่นก็คือส่วนของ Settings หรือการตั้งค่า ซึ่งจากที่ผมลองเรียกได้ว่ามันมีส่วนให้ตั้งค่าเยอะมาก! เราสามารถตั้งค่าของการใช้งานได้ละเอียดมาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่มากับตัว Android อยู่แล้วที่แม้จะถูกจัดวางจำแหน่งใหม่แต่ก็ยังครบถ้วน และส่วนที่มากับระบบของ Garmin ก็หลากหลายมาก

Photobucket
Photobucket

ทีนี้ก็มาถึงส่วนที่เป็นจุดแข็งของ Garmin-Asus A10 นั่นก็คือระบบนำทางจาก Garmin ซึ่งเราสามารถใช้งานได้จากหน้าหลักของเครื่องเลย โดยเริ่มจากการป้อนสถานที่ที่ต้องการจะไป

Photobucket

จากนั้นตัวโปรแกรมก็จะทำการค้นหาและแสดงผลตัวเลือกทั้งหมด

Photobucket

เมื่อเจอจุดหมายปลายทางที่ต้องการแล้วก็สามารถคลิกดูตำแหน่งบนแผนที่ได้ ซึ่งที่ผมชอบก็คือการที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะโทรติดต่อสถานที่นั้นๆหรือเลือกให้ตัวโปรแกรมนำทาง

Photobucket

ถ้าเลือกที่การโทรตัวโปรแกรมก็จะโทรติดต่อให้ทันที

Photobucket

หรือถ้าต้องการให้นำทาง ตัวโปรแกรมจะถามว่าเป็นโหมดการขับรถหรือการเดิน

Photobucket

จากนั้นก็จะแสดงแผนที่และเริ่มนำทางทันที

Photobucket

ซึ่งผมก็สามารถที่จะดูระหว่างที่อยู่บนรถได้ตลอดทางทั้งในรูปแบบการนำทาง และรูปแบบแผนที่ทั่วไป

Photobucket
Photobucket

แต่จุดที่ยอดเยี่ยมที่สุดอีกอย่างของ A10 ก็คือความสามารถในการจับภาพหน้าจอได้ ทำให้เราสามารถจับภาพเพื่อส่งให้กับเพื่อนได้อีกด้วย

Photobucket
Photobucket

นอกจากการนำทางแล้ว Garmin-Asus A10 ยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆอีกหลายอย่าง เรียกว่าครบสูตรของ Garmin เลยจริงๆ ซึ่งผมได้ลองเล่นโดยค้นหาสถานที่ที่น่าสนใจต่างๆก็ได้ข้อมูลที่หลากหลายและน่าประทับใจมาก

Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket

หลังจากที่ลองเล่นมาได้ไม่กี่วันผมก็รู้สึกว่า Garmin-Asus A10 เป็น Android อีกรุ่นที่น่าสนใจ ทั้งวัสดุของตัวเครื่องที่ค่อนข้างดี หน้าจอสัมผัสที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและไม่หน่วง สีที่ค่อนข้างสดและสว่าง และแบตเตอรี่ที่ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งวันโดยไม่ต้องกลัวแบตฯหมดระหว่างวัน หากจะมีจุดที่ผมยังไม่คุ้นก็คือการที่ตัวเครื่องไม่มี trackball หรือ trackpad แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้มาตั้งแต่แรกอาจจะไม่รู้สึกอะไรก็ได้ครับ นอกจากนั้น เนื่องจากว่า OS ของเครื่องที่ผมลองยังไม่ใช่ตัวที่จะวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ดังนั้นผมยังพบปัญหาในการพิมพ์เล็กน้อย แต่เชื่อว่าเมื่อถึงเวอร์ชั่นที่วางขายอย่างเป็นทางการปัญหานี้คงหมดไป

ผมขอให้คะแนน Garmin-Asus A10 ที่ 8/10 และน่าจะได้ 8.5/10 ได้ง่ายๆหากราคาขายไม่เกิน 14,000 บาทเพราะจะถือว่าการใช้งานคุ้มกับราคามากครับ

1 comment:

iamdocta said...

เห็นแล้วน่าลองใช้มาก

เพิ่งจะผ่อน Hero ครบครับเนี่ย

กิเลสก็มาเยือนอีกแล้ว